สมุนไพรแห่งราชวงศ์โสม

หน้าแรกเทรนด์สมุนไพรแห่งราชวงศ์โสม


โสม จัดว่าเป็นสมุนไพรที่ถูกขนานนามกันว่าเป็น ราชาของสมุนไพร หรือ สุดยอดสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ใช้รักษาโรคมานานกว่า 2,000 ปี  ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดมาจากแถบประเทศจีน และ เกาหลี ประเทศทางแถบตะวันออก มีความเชื่อว่าเป็นยาครอบจักรวาล ด้วยคุณประโยชน์มากมายของโสม เพียงแค่ปลายรากเล็ก ๆ ก็มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายที่ดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงเลือด บำรุงสมอง บำรุงระบบประสาท เพิ่มพลัง บรรเทาความเครียด บำรุงร่างกายทั้งภายใน และภายนอก 

โสม มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า Ginseng (จินเซ็น) ซึ่งมาจากภาษาจีนว่า เรนเซ็น (Ren Shen) แปลว่า โสมคน เนื่องจากลักษณะ เหมือนคน มีรากอ้วนคล้ายลำตัว มีกิ่งรากแตกแขนงคล้ายแขน คล้ายขาของคน เป็นพืชที่โตช้าปลูกยาก แต่ให้คุณค่ามหาศาล และ โสมมีมากมาย หลากหลายชนิด ทั้ง โสมสด โสมขาว โสมแดง และยังมีชื่อเรียกอีกมากมาย เช่น โสมจัน โสมญี่ปุ่น โสมเกาหลี โสมอเมริกา ผักกะโสม โสมไทย โสมดอกแดง และ โสมที่นิยมใช้กันมาเป็นพันๆปี จนถึงปัจจุบัน มีงานวิจัยรับรอง และมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด คือ โสมเกาหลี หรือโสมอเมริกา ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาอย่างแท้จริง 

โสม มีหลากหลายสายพันธุ์ และหลายประเภท แต่ละสายพันธุ์ และแต่ละประเภท จะให้คุณประโยชน์ ที่แตกต่างกัน แบ่งตามขั้นตอน และวิธีการเก็บรักษาด้วย

โสม 3 สายพันธุ์ ที่ได้รับความนิยม [1]     
  1. โสมเกาหลี คนท้องถิ่นมักเรียกว่า โสมคน หรือ หยิ่งเซียม โสมชนิดนี้มีถิ่นกำนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และมีการนำไปศึกษาทดลองปลูกในเกาหลี จนประสบความสำเร็จในเชิงการค้า เป็นโสมที่มีชื่อเสียง และ นิยมใช้ในวงการแพทย์มากที่สุด สามารถทำเป็นยาบำรุงร่างกาย รวมถึงเป็นอาหารเสริมได้ และ สามารถเก็บมาใช้ประโยชน์ เมื่อโสมมีอายุ 5-6 ปี ซึ่งประโยชน์ของโสมเกาหลี มีมากมาย ทั้งฟื้นฟูร่างกาย ป้องกันความแก่ชรา ผลต่อระบบการไหลเวียนเลือด เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นความจำ ดีต่อระบบย่อย การดูดซึม และการขับถ่าย มีผลต่อระบบอวัยวะภายใน 
  2.  โสมจีน หรือ ชั่งชิก เป็นโสมที่มีต้นกำเนิดจากมณฑลกวางสี หรือ ยูนนานในประเทศจีน โสมจีน นิยมปลูกในประเทศเวียดนาม แต่มักจะถูกเรียกชื่อจากถิ่นกำเนิด แรกเริ่ม นั่นก็คือ โสมจีน  แพทย์แผนจีนกล่าวว่า ใช้บำบัดอาการอาเจียนมีเลือดปน มีประจำเดือนไม่หยุด มีเลือดออกหลังคลอดบุตร ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต
  3. โสมอเมริกา หรือ เอี่ยเซียม ถูกพบครั้งแรกในป่าแถบอเมริกาเหนือ และมีการเพาะปลูก ปลายปี 1800 แม้จะมีต้นกำเนิดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา แต่ก็มีนำเข้าไปยังประเทศจีน แพทย์แผนจีนนิยมใช้ในผู้ป่วย ที่ติดเชื้อในทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงเป็นหวัด ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดี กระตุ้นสมองและบำรุงหัวใจ และปรับร่างกายให้เกิดสมดุล ยาเพิ่มพลังครอบจักรวาล ขจัดความร้อนในร่างกาย กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ มีประโยชน์ต่อระบบต่อมน้ำเหลือง

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่า จริงๆแล้ว โสม 3 สายพันธุ์ เป็นตระกูลเดียวกัน มีต้นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน สารสำคัญที่อยู่ในโสม เป็นสารสำคัญตัวเดียวกัน คือ จินเซนโนไซต์ (Ginsenosides) และ พาแน็กโซไซด์ (Panaxosides) แต่สิ่งที่ทำให้โสมแตกต่างกัน คือ รูปลักษณ์ ของแต่ละสายพันธุ์ วิธีการเก็บเกี่ยว และ สรรพคุณหลังจากเก็บเกี่ยวนั่นเอง 

โสม แบ่งได้ 3 ประเภท คือ  
  • โสมสด
เป็นโสมหัวเล็กๆ มักถูกเก็บเกี่ยวช่วงอายุไม่เกิน 4 ปี ส่วนใหญ่โสมสด จะนิยมมากในประเทศเกาหลี ชาวเกาหลีมักจะเก็บโสมสด มาใช้ประกอบอาหาร เมนูตุ๋น หรือทำเป็นซุป เช่น เมนูไก่ตุ๋นโสม (ซัมกเยทัง) เมื่อถึงวันโชบก หรือ วันเริ่มเข้าสู่หน้าร้อนของเกาหลีใต้ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตลอดช่วงหน้าร้อนนั่นเอง
  • โสมขาว
โสมขาว คือการนำ รากโสมสด ที่ถูกเก็บเกี่ยว ช่วงอายุตั้งแต่ 4-6 ปี หลักจากเก็บเกี่ยวจะนำรากมาล้างทำความสะอาด และนิยมนำมาตากแห้ง เพื่อการเก็บรักษาได้นานขึ้น จะมีลักษณะเป็นสีขาวซีด ขั้นตอนการผลิตโสมขาวนั้นจะมีความยุ่งยากกว่าโสมแดง แต่คุณภาพของโสมขาวนั้นกลับด้อยกว่าโสมแดงมากพอสมควร ดังนั้นผู้คนจึงนิยมรับประทาน “โสมแดง” มากกว่า
  • โสมแดง
โสมแดง คือการนำ รากโสมสด ที่ถูกเก็บเกี่ยว ในช่วงอายุ 6 ปี หลังจากเก็บเกี่ยวทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ผู้ผลิตจะคัดเอาเฉพาะรากโสมที่สมบูรณ์ที่สุด และดีที่สุด มานึ่งด้วยไอน้ำเดือดเพื่อทำการเก็บรักษาให้อยู่ได้นานขึ้น อบจนรากโสมเริ่มเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะแห้งและแข็ง มีสีน้ำตาลเข้ม หรือสีแดง จึงเรียกว่า “โสมแดง” และ ด้วยคุณภาพของโสม และ กระบวนการผลิตที่พิถีพิถัน ทำให้โสมแดงมีสารสำคัญของโสมในปริมาณมาก  จึงทำให้ราคาค่อนข้างสูงกว่า โสมขาว
 

คุณสมบัติ และสรรพคุณของโสม
ด้วยคุณสมบัติและสรรพคุณมากมายของโสม จึงได้ถูกขนานนามว่าเป็นสมุนไพรแห่งราชวงศ์มาอย่างยาวนาน จนถึงปัจจุบันโสมก็ยังคงได้รับความนิยม เนื่องจากมีคุณประโยชน์ ช่วยรักษาและบำรุงทั้งภายใน ภายนอก รวมถึงบรรเทาความเครียดต่าง ๆ มาดูกันว่า 8 คุณประโยชน์ของโสมที่เป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ดีกับตัวคุณมีอะไรบ้าง

1. มีส่วนช่วยรักษาและป้องกัน โรคเบาหวาน
ด้วยสรรพคุณของโสมมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมคาร์โบไฮเดรตได้ช้าลง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสในร่างกายไปใช้งานได้มากขึ้น อีกทั้งไปกระตุ้นให้ตับอ่อนสามารถเพิ่มการหลั่งของอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ช่วยรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี

2. มีส่วนช่วยลดอาการความดันโลหิตสูงและต่ำ
โสมมีส่วนช่วยบำรุงเลือดและปรับสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย ร่วมถึงปรับการหมุนเวียนของเลือดในร่างกายด้วย เพียงมีข้อพึงระวังในการใช้โสมของผู้ป่วยความดันโลหิตอยู่นิดนึงว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรรับประทานโสมขาว และผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำควรรับประทานโสมแดง เพราะโสมทั้ง 2 ชนิดนี้ออกฤทธิ์แตกต่างกัน

3. มีส่วนช่วยลดการปวดประจำเดือน
ประโยชน์ในเรื่องนี้เอาใจสาว ๆ ไปได้เลย เพราะผู้หญิงที่ต้องเจอภาวะปวดประจำเดือนทุกเดือนนี้มันช่างทรมานจริง ๆ โดยมีนักวิจัยคิดค้นและยืนยันมาแล้วว่า โสมมีฤทธิ์ช่วยปรับฮอร์โมนในผู้หญิงช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และยังช่วยปรับฮอร์โมนสำหรับผู้หญิงที่กำลังเข้าวัยทองอีกด้วย

4. มีส่วนช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
อย่างที่เราคุ้นหูกันดีว่าโสมเป็นยาโดปชั้นดีของเหล่าสุภาพบุรุษ เพราะโสมสามารถไปเพิ่มปริมาณไนตริกออกไซในร่างกาย ทำให้สามารถรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้เป็นอย่างดี

5. มีส่วนช่วยลดความเครียด แก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ
Ginsenosides ในโสมจะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางตื่นตัวทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยคลายความปวดเมื่อย ซึ่งจะช่วยทำให้หลับสนิท และตื่นมาไม่งัวเงีย กระปรี้กระเปร่า อีกทั้งโสมจะช่วยต้านความเครียด เพราะมีสาร Adaptogens จะช่วยให้ร่างกายให้ผ่อนคลาย ปรับสภาวะจิตใจให้คงที่ ลดภาวะโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

6. มีส่วนช่วยบำรุงสมองและระบบความจำ
ในส่วนข้อนี้เหมาะมากสำหรับคนที่ต้องทำงานใช้ความคิดทั้งวัน หรือเด็กนักเรียน นักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวสอบ เพราะโสมมี Ginsenosides ที่จะช่วยเสริมการทำงานของสารสื่อประสาท ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทของระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ปรับกระบวนการคิดและวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

7. มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย 
โสมเป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพจึงทำให้ร่างกายแข็งแรง และเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการเหนื่อยหอบ อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีความสามารถดีขึ้น จึงนิยมใช้เป็นยาบำรุงกำลังในหมู่นักกีฬาประเทศต่าง ๆ เช่น นักวิ่ง นักว่ายน้ำ เป็นต้น

8. มีส่วนช่วยชะลอความแก่ ทำให้อายุยืนยาว
ด้วยสรรพคุณของโสมที่เข้าไปเพิ่มขบวนการเผาผลาญไขมันเพื่อให้ร่างกายเกิดพลังงาน (เรียกว่า Lipid oxidation) อนุมูลอิสระที่สลายตัวจากออกซิเจน จะเป็นตัวทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ ให้เสื่อมสลายลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ โดยโสมสามารถเข้าไปทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจน จึงช่วยทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมช้าลง ประกอบกับโสมยังมีสรรพคุณที่ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้มีความทนทานต่อความกดดันต่าง ๆ จึงช่วยลดขบวนการของความแก่ชราลงได้ ดังนั้นโสมจึงช่วยชะลอความแก่ชราลงได้

อย่างไรก็ตาม ถึงโสมจะเป็นสุดยอดสมุนไพรชั้นดี มีข้อดีมากมาย และราคาสูงเพียงใด แต่ทุกสิ่งบนโลกกว้าง ๆ ใบนี้ ก็มีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย ด้วยกันทั้งนั้น  และโสมก็เช่นกัน ก่อนที่จะเลือกโสมมารับประทาน ก็ควรรู้ข้อเสียของโสมด้วย ว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง เมื่อทานแล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่
 

ผู้ที่ควรระวัง ในการรับประทานโสม [2]
โสมเมื่อรับประทานนานเกินกว่า 6 เดือน หรือรับประทานในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็วขึ้น  ปวดศีรษะ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ผื่นคันตามผิวหนัง อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น และข้อควรระวัง สำหรับบุคคลที่สุ่มเสี่ยง หากจะรับประทานโสม ดังนี้
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
การรับประทานโสม มีผลต่อการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจจึงไม่ควรบริโภคโสม หรือหากมีความต้องการบริโภค หรือ มีความจำเป็นต้องรับประทานโสม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อคำแนะนำโดยตรงกับแพทย์ที่ทำการรักษา ถึงปริมาณที่จะรับประทานได้
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
โสมมีคุณสมบัติ ช่วยปรับการไหลเวียนของโลหิตในร่างกายให้สมดุล โสมบางชนิดมีฤทธิ์ร้อน โดยเฉพาะ โสมแดง ยิ่งรับประทาน อาจจะยิ่งเพิ่มความร้อนให้กับร่างกาย ส่งผลให้เพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 
ผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยา เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ควรรับประทานโสมด้วยความระมัดระวัง เพราะโสมมีคุณสมบัติช่วยลดระดับ น้ำตาลในเลือด อาจจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษา ก่อนจะนำโสมมารรับประทานเอง
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ ผู้ที่ให้นมบุตร 
โสมถึงจะมีประโยชน์ใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่การรับประทานโสมอาจจะยังไม่ปลอดภัยสำหรับ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และ ช่วงให้นมบุตร เพราะยังไม่มีวิจัยรองรับถึงความปลอดภัย หรือยืนยันได้ถึงผลข้างเคียง ที่จะส่งผลให้เกิดอันตราย ต่อมารดา และทารกได้ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงนี้ ช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานโสม ในทุกกรณี
  • ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง หรือ ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
โสม มีสรรพคุณ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย ดังนั้น หากผู้ที่กำลังใช้ยากดภูมิคุ้มกัน จึงไม่ควรรับประทานโสม เพราะ โสมไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สูงขึ้น ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของยาลดลง และอาจทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลงได้
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ 
โสม มีฤทธิ์ป้องกันการคั่งของเลือด และ ทำให้เกล็ดเลือดแข็งตัว ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติเมื่อใช้โสมอาจทำให้เลือดออกมากกว่าปกติ และ อาจทำให้เลือดหยุดไหลช้าลง
  • ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ หรือติดเชื้อ
โสม ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น แต่ในผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ หรือติดเชื้อ จะต้องระมัดระวังในการรับประทานโสม หรือ ควบคุมปริมานในการรับประทานด้วย  เพราะโสมอาจเกิดการกระตุ้นร่างกาย มากเกินไป ส่งผลในร่างกายเกิดผลข้างเคียงได้


ข้อควรระวังในการใช้โสม [3]
แม้ว่าโสมมีสรรพคุณที่มากมายแต่ก็มีข้อควรระวังที่ควรรู้เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์ของโสมได้มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ โดยมีข้อควรระวังดังต่อไปนี้
  • ผลข้างเคียง
โสมมีคุณสมบัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย ช่วยให้ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า เมื่อทานโสมเข้าไป จึงอาจส่งผลต่อ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับยากได้ ดังนั้น การรับประทานโสมอาจจะไม่เหมาะ เพราะจะยิ่งทำให้นอนหลับยากขึ้น หรือนอนหลับไม่สนิท ส่งผลให้พักผ่อนไม่เพียงพอได้
  • ปริมาณการทาน
สำหรับผู้ที่เริ่มทานโสม แนะนำให้ทานในปริมาณน้อยๆก่อน ประมาน 1-2 กรัม ต่อวัน แล้วจึงค่อยๆ ปรับ เพราะหากทานในปริมาณที่เยอะเกินไปตั้งแต่เริ่ม อาจจะส่งผลข้างเคียง มากกว่าที่จะได้รับประโยชน์จากโสม ผลข้างเคียงเมื่ทานโสมมากเกินไป อาจจะเกิดอาการตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ อย่างอาการ เบื่ออาหาร จนไปถึงอาการหนัก เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง หรือ ต่ำ จนผิดปกติ 
  • อาหารที่ไม่ควรทานร่วมกับโสม
ด้วยคุณสมบัติของโสม ที่มากมายนั้น แต่ก็ยังมีอาหารที่ไม่ควรทานร่วมกันด้วย เพราะอาจจะทำให้ไม่ได้รับประโยชน์ของโสม ได้อย่างเต็มที่ เช่น อาหารที่มีกรดวิตามินซี น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะอาหารประเภทนี้จะส่งผลทำลายฤทธิ์ของโสม ประโยชน์ที่จะได้รับจากโสม อาจจะลดน้อยลง ร่างกายไม่ได้รับปะโยชน์ใดๆจากโสมเลย ทั้งนี้ ถ้าหากอยากทานอาหาที่มีกรดวิตามินซี ตามที่กล่าว ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หลังจากรับประทานโสมเข้าไป 
 

โสมควรทานตอนไหน เพื่อให้เกิดผลดีมากที่สุด

โสม เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย สามารถรับประทานในช่วงเวลาใดก็ได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะในโสมมีตัวยา และสารอาหารหลายๆ อย่าง ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ในปริมาณที่จำกัด หากรับประทานมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆในร่างกายได้ เพราะฉะนั้นจึงควรคำนึงถึง ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวันด้วย  และควรหลีกเลี่ยงในการรับประทานร่วมกับสมุนไพรและอาหารบางชนิดเพื่อให้ส่งผลดีต่อร่างกายมากที่สุด 

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีส่วนผสมหลักเป็นโสม มีหลากหลายรูปแบบ บางคนก็อาจจะซื้อเป็นรากโสมเพื่อมาตุ๋น หรือต้มด้วยตนเอง และสมัยนี้ตลาดโสมกว้างขวางขึ้น ง่ายต่อการหามารับประทาน และหาซื้อได้ง่ายขึ้น ในท้องตลาด และมาในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งอาหารเสริม เม็ดแคปซูล เครื่องดื่มขวดพร้อมดื่ม หรือ ผงชงดื่ม จากรูปแบบทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถเลือกทานโสมในรูปแบบใดก็ได้ ตามที่สะดวก และเหมาะกับ ไลฟ์สไตล์ ความชอบ  แต่เรื่องที่ควรคำนึงถึง นอกเหนือจากการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ แล้ว ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งที่มาที่มีคุณภาพ และน่าเชื่อถือด้วย เลือก ฮอทต้า พลัส ขิงผสมโสมสกัด ผสานคุณค่าของขิง และโสม แบบลงตัว เหมาะสำหรับการผ่อนคลายตัวเอง ในแบบวิถีธรรมชาติ เพราะได้ถึง 2 คุณประโยชน์ จากขิงและโสมสกัด ผลิตจากขิงคุณภาพดี ช่วงอายุ 11-12 เดือน ที่มีสารที่มีประโยชน์มากที่สุดในขิง กลิ่น และรสชาติกลมกล่อม จากน้ำขิงแท้ เพิ่มคุณประโยชน์ของโสมสกัด ช่วยบำรุงร่างกาย และ เสริมพลังงาน ยามเหนื่อยล้า ลดปริมาณน้ำตาลลง 35% โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน สะอาด ไม่ใช่วัตถุกันเสีย ไม่เจือสี และสรรพคุณของขิงและโสม ยังคงอัดแน่นเหมือนเดิม

เลือกดื่มสุขภาพดี ที่คุณค่า เลือกดื่ม ฮอทต้า พลัส ขิงผสมโสมสกัด ทุกวัน


ข้อมูลอ้างอิง
[1] โสม สมุนไพรบำรุงสุขภาพ
[2] โสม กับคุณประโยชน์ทางการแพทย์
[3] โสมคน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย 
กลับ
18/03/2564
7,484
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ